ประวัติ ของ วัดศาลาแดง (จังหวัดสระบุรี)

วัดศาลาแดงตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑ เดิมเรียกว่า "วัดแก่งม่วง" โดยมีต้นมะม่วงใหญ่ยืนต้นอยู่บนแก่งเป็นสัญลักษณ์ ต่อมาน้ำได้พัดเอาแก่งและต้นมะม่วงจมหายไปกับน้ำหมดสภาพไป คงเหลือแต่ศาลาหลังหนึ่งมีหลังคามุงกระเบื้องสีแดงซึ่งใช้เป็นที่พักสำหรับคนเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาท และพระพุทธฉาย จังหวัดสระบุรี จึงได้เรียกเป็นนามวัดว่า "วัดศาลาแดง" จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไปวัดศาลาแดงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๕ เมตร[2]

อาคารเสนาสนะ

  • ๑. อุโบสถ กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๕ เมตร
  • ๒. ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๔๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นอาคาคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • ๓. กุฏิสงฆ์ จำนวน ๖ หลัง เป็นอาคารไม้ ๔ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๑ หลัง และเป็นอาคาคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ หลัง
  • ๔. วิหาร กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นอาคาคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • นอกจากนี้ยังมี หอระฆัง ๑ หลัง หอกลอง ๑ หลัง โรงครัว ๑ หลัง โรงเก็บพัสดุ ๑ หลัง.[3]

ปูชนียวัตถุ

  • ๑. พระประธานในอุโบสถปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว สูง ๗๔.๕ นิ้ว สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔
  • ๒. พระประธานในศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๕ นิ้ว สูง ๔๔๙ นิ้วสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘.[4]

ใกล้เคียง